Learning
Log 4 (ในห้องเรียน)
ปัจจุบันภาษาอังกฤษเข้ามามีบทบาทในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น
การแปลจึงเป็นตัวสำคัญในการสนทนากับการชาวต่างชาติ
การอ่านบทความภาษาอังกฤษหรืออ่านข่าวต่างประเทศ
ดังนั้นการที่มนุษย์เราจะแปลภาษาอังกฤษได้ดีนั้นต้องอาศัยหลักไวยากรณ์เป็นส่วนใหญ่
โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้างประโยค
นอกจากนี้แล้วเรายังต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับหลักภาษา
เพราะจะทำให้เราแปลภาษาได้อย่างถูกต้องและสวยงาม
เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องศึกษาเรื่องดังต่อไปนี้
ประโยค Sentences
หมายถึง กลุ่มคำหรือข้อความที่กล่าวออกมาแล้วมีใจความสมบูรณ์
ประโยคจะประกอบด้วยส่วนใหญ่ 2 ส่วนคือ 1.ภาคประธาน (Subject) 2.ภาคแสดง
(predicate)
ภาคประธาน
|
ภาคแสดง
|
He
|
Shouted.
|
Mary
|
Was selfish.
|
The loose door
|
Rattled all night.
|
Those students
|
Study hard for their exam.
|
ภาคประธานอาจมีได้หลายรูปแบบ
เช่น (1) เป็นคำนาม เช่น the man walked in the rain. (2) เป็นคำสรรพนาม เช่น He was a policeman. (3) เป็นอนุประโยค
เช่น what he described frightened every day. (4) เป็น gerund
เช่น writing was her hobby. (5) เป็น gerund phrase เช่น working in the South is
dangerous. (6) เป็น Infinitive เช่น to
swim is a good exercise. (7) เป็น Infinitive phrase เช่น to escape from the prison
seem impossible for him.
ชนิดของประโยคแบ่งออกเป็น
4
ชนิด คือ (1) Simple sentence คือประโยคความเดียว
เช่น Linda wrote that novel. (2) Compound sentence คือ
ประโยคความรวม เช่น University students can live in the dormitories or
in the private apartment. (3) Complex Sentence คือประโยค ความซ้อน เช่น Students who
are in the second year are called so sophomore. (4) Compound-Complex Sentence เช่น Before Jack could go to the party, he had finish his annual
report, but he found it hard to concentrate.
Simple sentence ประโยคความเดียวหรือเอกัตถประโยค หมายถึง ข้อความที่พูดออกไปแล้วมีใจความข้างเดียว
ไม่กำกวม สามารถเข้าใจเป็นอย่างเดียวกันระหว่างผู้พูดและผู้ฟัง
เป็นประโยคที่มีประธานตัวเดียว และกริยาตัวเดียว เช่น Venerable Tawan is
my friend. ท่านตะวันเป็นเพื่อนของผม Buddhism is one of the
great world religions.พระพุทธศาสนาเป็นหนึ่งในบรรดาศาสนาโลกที่ยิ่งใหญ่
หมายเหตุ พึงสังเกตประโยคแต่ละประโยคข้างต้นเหล่านี้
จะเห็นว่าแต่ละประโยคมีประธานตัวเดียวและกริยาตัวเดียว
นอกจากนี้แล้ว Simple
sentence ยังสามารถแบ่งเป็นประโยคย่อยๆได้หลายรูปแบบ ดังนี้ (1)
Affirmative sentence ประโยคบอกเล่า ได้แก่ประโยคที่มีเนื้อความบอกเล่าตามธรรมดา
เช่น Wat Isan is located in Nakornratchasima city.วัดอีสานตั้งอยู่ในตัวเมืองนครราชสีมา
(2) Negative Sentence ประโยคปฏิเสธ ได้แก่
ประโยคที่มีเนื้อความปฏิเสธ เช่น The Pali language is not difficult for
monks.ภาษาบาลีเป็นภาษาที่ไม่ยากสำหรับพระ (3) Interrogative
sentence ประโยคคำถาม ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเป็นคำถาม
เพื่อต้องการทราบคำตอบ เช่น Are you a monk.ท่านเป็นพระหรือ (4)
Negative Question Sentence ประโยคคำถามเชิงปฏิเสธ ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเชิงปฏิเสธ เช่น Does
not she believe in you? หล่อนไม่เชื่อคุณเหรอ (5)
Imperative sentence ประโยคขอร้องหรือประโยคบังคับ เช่น I
beg your pardon. ผมขอโทษ Open the door now. เปิดประตูเดี๋ยวนี้
(6) Exclamation sentence ประโยคอุทาน ได้แก่ ประโยคที่มีเนื้อความเปล่ง อุทานขึ้น มีทั้งตกใจ
ประหลาดใจ เศร้าใจ ดีใจ เช่น how nice she is! หล่อนช่างดูดีจริงๆ
Compound sentence คือ ประโยคความรวม หมายถึงประโยคที่มีข้อความ 2 ข้อความมารวมกัน
พูดง่ายๆคือ ประโยคความเดียว 2 ประโยครวมกันแล้วเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน
เช่น semi-colon (;) colon (:) และ Dash (-) และ Comma (,) เชื่อมด้วย co-ordinate
conjunction ได้แก่ and, or, but, so, still, yet, etc .และ conjunction adverb ได้แก่
however, meanwhile, thus, etc.
เครื่องหมายวรรคตอนที่นิยมนำมาเชื่อม
Simple
sentence เพื่อให้เป็น Compound sentence
มีดังต่อไปนี้ คือ semi-colon (;) ให้เชื่อมประโยคในกรณีที่ผู้เขียนยังไม่รู้สึกอยากขึ้นประโยคใหม่
เพราะเห็นว่าใจความยังต่อเนื่องคาบเกี่ยวกันอยู่ เช่น Daeng was sick; he
didn’t work yesterday. หรือ Daeng was sick- he didn’t work
yesterday. 2 เครื่องหมายอันนี้ใช้เชื่อมในกรณีที่เห็นว่า
ผลของประโยคหลังมีสาเหตุมาจากประโยคข้างหน้าโดยแท้ เช่น Daeng was sick: he
didn’t work yesterday.หรือ Daeng was sick- he didn’t work
yesterday. Comma
(,) เครื่องหมายนี้นิยมใช้ในกรณีที่ผู้เขียนเห็นว่า
เหตุการณ์ที่กล่าวถึงนั้นถ้าขึ้นประโยคใหม่ก็ทำให้ขาดความต่อเนื่อง
ทำให้เสียภาพพจน์ของเหตุการณ์ เช่น I tooked around here. Sombat was
writing a litter, Wicat was, Nipon was doing exercises.
Co-ordinate conjunction ที่นำมาเชื่อมประโยค Simple sentence เพื่อให้เป็น Compound
sentence นั้นแบ่งออกเป็น 4 แบบ (1) แบบรวม ได้แก่ and และคำที่มีความหมายคล้าย and
เช่น and…too, as well as, and also, both…and เช่น Mary is tired and hungry. Mary is tired and hungry too. (2)
แบบเลือก ได้แก่ or และมีความหมายคล้าย or
เช่น or else, either…or, neither…or เช่น He
must go now or he will miss the plane. Either you or he has to do this. (3) แบบแยก ได้แก่ but และคำที่มีความหมายคล้าย but
เช่น while, whereas, yet, still เช่น Robert
worked well, yet he failed. Wise man loves truth, whereas fools shun it. (4) แบบเชื่อมความซึ่งเป็นเหตุผลแก่กันและกัน ได้แก่ so และคำที่มีความหมายคล้าย
so เช่น for, there for, consequently, accordingly เช่น I went in, for the door was open. It’s time to go, so let’s
start our journey.
Conjunction adverb
ที่เชื่อม Simple sentence เพื่อให้เป็น Compound
sentence แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ (1) คำที่มีลักษณะเป็นการเติมคำเพื่อเน้นให้ผู้อ่านฉุกคิด หรือเป็นข้อสังเกต
คือ however, moreover, furthermore, therefore, nevertheless เช่น Johny was sick; however, he did go to school. Amnat had a
bad cold; therefore, he didn’t work. (2) คำที่มีความหมายเป็น Transition
Word ซึ่งมีความหมายอ่อนลงมากจนอาจใช้เสมือน adverb ธรรมดา คือ otherwise, thus, still, hence, yet เช่น
Do what you are told, otherwise you’ll be punished. David was sick, thus
he went to a doctor.
Complex Sentence คือประโยคความซ้อน หมายถึง ประโยคใหญ่ที่เกิดขึ้นมาจากประโยคเล็กสองประโยค
ซึ่งประโยคทั้ง 2 ประโยคมีความสำคัญไม่เท่ากัน
ประโยคหนึ่งเรียกว่า Main Clause (ประโยคหลัก) ส่วนอีกหนึ่งประโยค เรียกว่า Subordinate Clause (ประโยคอาศัย)
เป็นประโยคที่ต้องอาศัยประโยค Main Clause
เสียก่อนแล้วจึงได้เนื้อความสมบูรณ์ หากแยกกัน ทีละประโยค ประโยค Main Clause จะอ่านได้เนื้อความสมบูรณ์ในตัวมันเอง ส่วนประโยค Subordinate Clause
จะอ่านไม่ได้ความหมาย เช่น This is the house that Jacky-bought last
year. ข้อความนี้ถ้าออกเป็น 2 ประโยค คือ this
is the house เป็นประโยค Main Clause ส่วน that
Jacky-bought last year. เป็น Subordinate Clause จะเห็นได้ว่าประโยคเล็ก 2 ประโยคมารวมอยู่ด้วยกัน
จึงทำให้ประโยคที่กล่าวมานี้เป็น Complex Sentence
ส่วนการรวมประโยคนั้น
อาจจะใช้คำต่อไปนี้เป็นคำเชื่อมประโยค Main Clause
กับ Subordinate Clause คือ (1) ใช้คำเชื่อมหรือคำเชื่อมแฝง
ได้แก่ if, as if, since, because, that, etc. เช่น He
said that he would come back soon. Vinai works as if he were machine. (2) ใช้ประพันธ์สรรพนาม (Relative Pronoun) เป็นคำเชื่อมได้
ได้แก่ who, as, but, whom, whose, what, which, of, which, that, where, เช่น She made the same mistakes as her sister did. The man who
came here this morning is my uncle. (3) ใช้สัมพันธ์วิเศษณ์เป็นคำเชื่อม
ได้แก่ when, whenever, where, why, wherever, how เช่น I
don’t know when she arrives here. He will go wherever she lives.
Compound-Complex Sentence หมายถึงประโยคใหญ่ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไปมารวมกันอยู่โดยที่ประโยคใหญ่ท่อนหนึ่งท่อนหนึ่งท่อนนั้นจะมีประโยคเล็กซ่อนอยู่ภายใน
เช่น I saw no one in the house which you had told me about, so I
didn’t go in. ฉันไม่เห็นใครอยู่ในบ้านซึ่งคุณได้บอกให้ฉันทราบเลย
ดังนั้นฉันจึงไม่เข้าไปข้างใน ประโยคที่ยกมากล่าวให้ดูมี 2 ประโยคใหญ่
คือ I saw no one in the house which you had told me about
และ so I didn’t go in และประโยคแรกมีประโยคเล็กซ่อนอยู่ภายในนั้นคือ
which you had told me about. I couldn’t remember what his name is, but I
will ask him. ผมจำไม่ได้ว่าเขาชื่ออะไร แต่ผมก็จะถามเขาดู (อีกครั้ง)
นอกจากนี้เรื่อง Adjective
Clause ก็เป็นเรื่องที่สำคัญเช่นกัน Adjective Clause หมายถึง
อนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำคุณศัพท์ขยายคำนามหรือขยายคำเสมอคำนามได้เช่นเดียวกับ Adjective
ธรรมดา แต่การขยายด้วย Adjective Clause
จะทำให้ข้อความนั้นหนักแน่น และเด่นชัดขึ้นกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ลักษณะของประโยค Adjective Clause
จะนำหน้าด้วยคำเชื่อม คือ 1.Relative Pronoun ได้แก่ who,
whom, whose, which, of which, that as but 2.Relative Adverb ได้แก่
when, why, where
Relative Pronoun
หมายถึงสรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ด้านหน้าและในขณะเดียวกันทำหน้าที่เชื่อมประโยคหลังให้สัมพันธ์กัน
สรรพนามที่นิยมใช้ ได้แก่ who ใช้แทนบุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้กระทำจึงใช้
who เป็นสรรพนามแทนได้ เช่น He is the postman who
brings a letter for us at home. Whom ใช้แทนนามที่เป็นบุคคล
และเมื่อแทนไปแล้ว whom อยู่ในฐานะผู้ถูกกระทำตลอดไป เช่น this
is the student whom his teacher punished. Whose ใช้แทนนามที่เป็นบุคคล
เพื่อแสดงความเป็นเจ้าของนามตามมาทีหลัง และให้สังเกตไว้ด้วยว่า whose ต้องมีนามตามเสมอ เช่น Sanit is the boy whose father died in the
war. Which ใช้แทนสัตว์สิ่งของ ทั้งในรูปของประธานและกรรม เช่น the
animal which has wing is a bird. What ใช้แทนนามที่เป็นสิ่งของ
และนามที่ what ไปแทนนั้นจะไม่ปรากฏให้เห็นอยู่ด้านหน้า เช่น
I know what is in this box. When ใช้แทนคำนามที่เกี่ยวกับวัน
เดือน ปี เช่น Sunday is the day when we don’t go to work. Why ใช้แทนนามที่เป็นเหตุเป็นผล เช่น that’s the reason why I kill
him. That การนำเอา that มาใช้เป็น Relative
Pronoun ใช้แทนได้กับทั้งคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่
Relative Adverb ทำหน้าที่เป็นกริยาวิเศษณ์ขยายกริยาในประโยคของตัวเองและในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็น
Conjunction เชื่อมข้อความประโยคหน้ากับประโยคหลังให้กลมกลืนกันด้วยอีก
แบ่งออกได้เป็น 6 ชนิด 1. Conjunctive adverb of time ทำหน้าที่เพื่อเชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกเวลา ได้แก่ when เช่น I know
when he will come. 2. Conjunctive adverb of place คือ
คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกสถานที่ เช่น This is
where I stayed last year. 3. Conjunctive adverb of Frequency คือ
คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกความถี่หรือจำนวนครั้ง ได้แก่ How
often เช่น I asked him how often he had gone there. 4.
Conjunctive adverb of Manner คือ คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกอาการพฤติกรรม
ได้แก่ how เช่น My father knows how I shot the
tiger. 5. Conjunctive adverb of Quantity คือ
คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาเพื่อบอกปริมาณ เช่น No one knows
how long she will live with him. 6. Conjunctive adverb of Reason คือ
คำที่ไปทำหน้าที่เชื่อมประโยคและขยายกริยาในประโยคหลังเพื่อบอกเหตุผล เช่น Panya
did not know why she cried.
การลดรูปของ Adjective
คำนำหน้า who, which และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ adjective สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำต่างๆได้
โดยเมื่อลดรูปจะกลายเป็นกลุ่มคำนามดังนี้ 1. Appositive Noun Phrase สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มี be ให้ตัด be ออก เช่น Prof.Chakarin,
who is my thesis adviser, will retire next year. เป็น Prof.Chakarin,
my thesis adviser, will retire next year. 2. Prepositional Phrase สามารถลดรูปได้ หากหลัง who, which และ that มีกริยาและคำบุพบท ที่ถ้าตัดคำกริยาแล้วเหลือแต่คำบุพบท
ยังมีความหมายเหมือนเดิม ให้ตัดกริยาออกได้ เช่น The lady who is dresses
in the national costume is a beauty queen. เป็น The lady in the national costume is a beauty
queen. 3. Infinitive Phrase สามารถลดรูปได้หากข้างหลังมีกริยาในรูปของ
be+ Infinitive with to เช่น He is the first person
who is to be blamed for the violence yesterday. เป็น He is the first person to be blamed for the
violence yesterday. 4. Participle Phrase 4.1) Present Participle Phrase 4.2)
Past Participle Phrase
Present Participle Phrase มี who เป็นประธาน โดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง
who เป็น Present Participle เช่น The
school students who visited the national museum were very excited. เป็น The school students visiting the national museum were very
excited. Past Participle Phrase มี Which และ who เป็นประธาน สามารถลดรูปได้หากหลัง which
และ who มีกริยาในรูป Passive form
(be+ Past Participle) ลดรูปโดยการตัด which และ who และ be ออก เหลือแต่ Past
Participle เช่น The money which was lost during the trip
was returned to its owner. เป็น The money lost during the
trip was returned to its owner.
สรุปได้ว่าทักษะการแปลต้องอาศัยพื้นฐานทางไวยากรณ์
โดยเฉพาะเรื่องของโครงสร้างประโยค
เพราะถ้าเรารู้โครงสร้างประโยคเราก็สามารถแปลได้อย่างสละสลวย น่าอ่าน
ผู้อ่านเข้าถึงเรื่องที่อ่านได้อย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น