Learning Log 3 (ในห้องเรียน)
การเรียนในห้องเรียนในปัจจุบันก็ยังนับว่าเป็นสิ่งสำคัญ
เพราะจะทำให้ครูได้พบกับนักเรียนและช่วยแก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้น
แต่ครูก็ต้องยึดหลักการสอนที่ว่า Teach Less, Learn More หรือ TLLM และการสอนอีกตัวที่สำคัญเช่นกันคือ Blended
Learning ทั้งสองตัวนี้มีความสำคัญมากสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ครูภาษาอังกฤษในปัจจุบันต้องเตรียมตัวสอบวัดมาตรฐานยุโรปเพราะถ้าสอบไม่ผ่านไม่มีสิทธิรับราชการ
Teach
Less, Learn More หรือ TLLM
คือสอนให้น้อยที่สุด เรียนรู้ให้มากทีสุด เป็นแนวคิดเปลี่ยนวิธีของครูและผู้เรียน
โดยครูออกแบบการเรียนรู้จากการตั้งคำถามเพื่อให้ผู้เรียนคิดและสืบค้นข้อมูล
เรียนรู้จากกิจกรรมโดยใช้โครงงานฝึกให้ผู้เรียนมีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตและให้ผู้เรียนสะท้อนความคิด
ซึ่งสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้ มีการจัดกิจกรรมโดยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน
ซึ่งครูออกแบบการเรียนรู้ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
เช่น การเรียนรู้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การเรียนรู้แบบสืบค้น การสะท้อนความคิด
เป็นต้น
แนวคิด Teach Less, Learn More หรือ TLLM เป็นแนวคิดการจัดการศึกษาของประเทศสิงค์โปร์ ภายใต้วิสัยทัศน์ในการพัฒนาระบบการศึกษาที่ว่า Thinking schools, Learning Nation ซึ่งต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาเพื่อจัดการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่ง thinking schools เป็นวิสัยทัศน์ที่ต้องการให้โรงเรียนทุกโรงเรียนจัดการศึกษาพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นนักคิด ส่วน Learning Nation เป็นวิสัยทัศน์ของการเรียนรู้ที่ต้องการให้ผู้เรียนมีความรู้มากขึ้นเกี่ยวกับนวัตรกรรมและความสามารถในการสร้างสรรค์เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
นอกจากนี้แนวคิด Teach Less, Learn More หรือ TLLM ยังมุ่งเน้นประสิทธิภาพในการจัดการเรียนกรสอนที่ดีขึ้นและเป็นการเตรียมความพร้อมการใช้ชีวิตให้แก่ผู้เรียน
ซึ่งต้องการเปลี่ยนจากการศึกษาเชิงปริมาณไปเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ
คือต้องเพิ่มการจัดการศึกษาเชิงคุณภาพและลดการจัดการศึกษาในเชิงปริมาณ
ซึ่งการเพิ่มการศึกษาเชิงคุณภาพคือการเพิ่มการมรปฏิสัมพันธ์ในชั้นเรียนระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็นของตน ส่วนการลดการศึกษาเชิงปริมาณ คือ
การลดบทบาทของครูจากผู้สอนเป็นผู้ชี้นำ กระตุ้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้
การลดการเรียนรู้โดยการท่องจำ การสอนและการหาคำตอบในการแทนค่าสูตรต่างๆ
ข้อควรคำนึงในการจัดการเรียนรู้ตาม Teach
Less, Learn More คือ
ผู้สอนควรตระหนักในการจัดการศึกษาแก่ผุ้เรียนนั้นควรส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเรียนรู้และมีกำลังใจในการเรียน
ผู้สอนควรให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทัศน์มากกว่าท่องจำ
ผู้สอนควรสอนเพื่อเตรียมผู้เรียนสำหรับการทดสอบชีวิต มากกว่ามีชีวิตเพื่อการทดสอบ
ผู้สอนควรสอนให้ผู้เรียนเห็นภาพของเนื้อหาโดยรวมและสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาได้และควรเน้นกระบวนการของผู้เรียนมากกว่าเน้นผลการเรียนรู้เพียงอย่างเดียว
ในการสอนครูผู้สอนต้องมีทัศนคติที่ดี
และสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงได้มากกว่าดีกว่าสอนแต่เนื้อหา
ครูต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยการใช้คำถามกระตุ้นมากกว่าให้ผู้เรียนปฏิบัติตามคำสั่ง
ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความกระตือรือร้นด้วยตนเอง สร้างบรรยากาศในห้องเรียนเพื่อกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และที่สำคัญในการจัดการเรียนการสอนผู้สอนต้องคำนึงถึงความแตกต่างของผู้เรียนแต่ละคนทั้งในด้านความสนใจและความพร้อม
ผู้สอนใช้วิธีประเมินที่หลากหลายและประเมินตามสภาพจริง
เพราะคุณภาพของคนเป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าและอีกทักษะการสอนที่สำคัญคือ
Blended
learning
Blended
learning คือ การเรียนการสอนแบบผสมผสานหลายวิธี
เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาเต็มศักยภาพเหมาะกับบริบทและสถานการณ์
การเรียนรู้และการตอบสนองของแต่ละบุคคลเกิดการเรียนรู้และทักษะด้านปฏิบัติ
โดยใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเรียนรู้ เช่น
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านระบบเครือข่าย
การจัดกิจกรรมการสอนกรณีครูสั่งงานผ่านทาง E-mail
หรือ Chartroom หรือ Webbord ถือเป็นการเรียนรู้แบบผสมผสานเช่นกัน
เพราะต้องไปค้นคว้าสืบข้อมูลและนำมาอภิปราย สรุปเนื้อหาเป็นแนวเดียวกัน
ผู้เรียนทุกคนเข้าใจตรงกันจึงเป็นการเรียนรู้ที่ดีวิธีหนึ่งที่มีทั้งการเรียนรู้แบบดั้งเดิมมาผสมผสานกับเทคโนโลยี
Blended
learning จึงเป็นสิ่งสำคัญของการศึกษาและเทคโนโลยี
ถือได้ว่าการเรียนแบบ Blended learning มีการใช้งานที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เป็นการบูรณาการระหว่างการเรียนในชั้นเรียนและการเรียนแบบออนไลน์
สามารถช่วยเสริมสร้างการเรียนรู้ของผู้เรียนและการใช้เวลาได้เหมาะสม
ในการสอนผู้สอนต้องจัดเตรียมเวลาให้ทันกับเนื้อหา
เพราะถ้าสอนไม่ทันเนื้อหาจะขาดช่วง ส่วนผู้เรียนวันหนึ่งจะเรียนหลายวิชา ดังนั้นต้องแบ่งเวลาให้ถูกต้องและที่สำคัญคุณธรรมจริยธรรมเป็นสิ่งสำคัญมาก
นอกจากนี้ครูต้องแม่นในเนื้อหาที่จะสอนและต้องสอนให้เด็กรู้เรื่อง
ข้อบกพร่องทางด้านเนื้อหาของครู คือ ไวยากรณ์
ตัวที่สำคัญคือเรื่อง Tense ซึ่ง Tense ทั้ง 12 Tense มีความแตกต่างกันออกไปตามเวลา อดีต
ปัจจุบันและอนาคต โดยมี verb tense เป็นตัวกำหนดหรือเป็นข้อสังเกตในการบอกช่วงเวลานั้นๆ
ซึ่งครูต้องศึกษาและทำความเข้าใจเรื่องนี้เป็นพิเศษ
เพราะว่าไวยากรณ์เป็นหัวใจสำคัญสำหรับภาษาอังกฤษ
ดังนั้นครูต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาหาความรู้ใหม่ๆให้เท่าทันโลกปัจจุบัน
เด็กไทยจะด้อยกว่าเด็กต่างประเทศเป็นอย่างมาก
นอกจาก Tense ยังมีข้อบกพร่องในเรื่องของ
Syntax คือ โครงสร้างของประโยค Phonology คือว่าด้วยการออกเสียงและสุดท้าย Semantic เป็นวิชาที่ว่าด้วยความหมาย
ในการที่เราจะรู้ความก็ต้องอาศัยเรื่อง Tense เพราะ Tense จะบอกกาลเวลาต่างๆได้อย่างชัดเจน ดังนั้น
เมื่อเรารู้ข้อบกพร่องของเราแล้วก็ควรที่จะปรับปรุงและพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นเพราะว่าในอนาคตจะมีการสอบมาตรฐานยุโรป
การสอบวัดความรู้ของครูภาษาอังกฤษมีหลากหลายมาก เช่น TOEEI
การทดสอบภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศ IELTS คือระบบการทดสอบภาษาอังกฤษนานาชาติ
และ CEFR การสอบวัดมาตรฐานยุโรป CEFR เป็นการสอบที่สำคัญมาก
เพราะว่าถ้าสอบไม่ผ่านก็ไม่สามารถรับราชการครูได้
ดังนั้นเราควรเตรียมตัวตั้งแต่ตอนนี้เพราะว่าการสอบวัดมาตรฐานยุโรปไม่ได้ง่ายอย่างที่คิด
ถ้าเราเตรียมตัวดีทุกอย่างก็จะง่าย
เด็กไทยควรตระหนักถึงความสำคัญของภาษาให้มากขึ้นจะได้ไม่แพ้ชาติใดในโลก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น