Learning
Log 8 (ในห้องเรียน)
ในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยให้ได้ภาษาที่สวยงาม
น่าอ่าน อย่างแรกเลยเราต้องรู้หลักไวยากรณ์เรื่องต่างๆ
เพราะว่าไวยากรณ์มีความสำคัญต่อการแปลเป็นอย่างมากนับได้ว่าเป็นกระดูกสันหลังเลยทีเดียว
และเรื่อง Noun clauses หรืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม
ก็เป็นเรื่องที่สำคัญอีกเรื่องหนึ่งที่เราจำเป็นต้องศึกษา
การแปลอนุประโยคที่ทำหน้าที่เป็นคำนาม ถ้าเราแปลได้อย่างถูกต้อง
เราจะได้งานแปลที่มีภาษาสละสลวย น่าอ่าน
หรือดึงดูดความสนใจของผู้อ่านได้เป็นอย่างดีเลยที่เดียว เพราะฉะนั้นเราจำเป็นต้องศึกษาหลักการใช้
noun clauses ว่าคืออะไร มีกี่ประเภท อะไรบ้าง
Noun clauses
คืออนุประโยคที่ทำหน้าที่เสมือนหนึ่งเป็นคำนามในประโยค ในการสนทนาในการใช้ชีวิตประจำวัน
เราอาจได้ยิน หรือใช้ noun clauses โดยไม่รู้ว่ากำลังใช้ noun
clauses อยู่ เช่น I think that you’re very pretty. I hope
that you pass the exam. Noun clauses เหล่านี้
เมื่ออยู่ในตำแหน่งประธานจะเรียกว่า Subject noun clauses และเมื่ออยู่ในตำแหน่งของกรรม
จะเรียกว่า Object noun clauses ดังตัวอย่างคือ that
scores are going down is clear. ที่คาดว่าคะแนนลดลงเป็นสิ่งที่เห็นได้ชัดเจน
= Subject noun clauses I don’t know where she is.ผมไม่รู้ว่าคุณอยู่ที่ไหน
= Object noun clauses
ประเภทของ Object
noun clauses พูดได้เลยว่า Object noun clauses จะต้องอยู่คู่กับ main clause ของประโยคเสมอ
โดยจะเริ่มต้นด้วย Main clause แล้วตามด้วย Object
noun clauses มี 3 ประเภท ได้แก่ 1.
Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วย that (that=ที่ว่า)
2.noun clauses ที่ขึ้นต้น Wh-question (that, where, when,
why, how) และ 3.noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if
หรือ whether (if/whether = หรือเปล่า, หรือไม่)
การใช้ Noun
clauses ที่ขึ้นต้นด้วยคำว่า that
ในกรณีต่อไปนี้ 1.ใช้ตามหลัง verb บางตัวที่แสดงความรู้สึก
ความคิด หรือความคิดเห็น เช่น I agree that we should follow him.
She knows that her mom loves her. 2. ถ้าเป็นภาษาพูดมักจะละคำว่า
that ซึ่งเป็นคำขึ้นต้น clauses เช่น I
think that it’s not blue. (ภาษาทางการ) I think it’s not
blue. (ภาษาพูด) 3. Verb
ใน main clause มักจะเป็น Present tense แต่ Verb ใน Noun clauses
จะเป็น tens อะไรก็ได้ เช่น I believe it’ll rain.
(Very soon) 4.ในการสนทนา ถ้าต้องหลีกเลี่ยงการพูดคำว่า that บ่อยเกินไป หรือไม่ต้องการพูด Noun clauses ซ้ำ
สามารถตอบโดยใช้คำว่า so หรือ not หลัง
main clause ได้ เช่น Surat: Is Surawee here today?
Dendao: I think so. (I think that Surawee is here today)
การใช้ Noun
clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question
(ได้แก่คำว่า that, where, when, why, how) มีกฎดังนี้ 1.
Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question
และแม้ว่า Noun clauses เหล่านี้ จะขึ้นต้นด้วยคำแสดงคำถาม
แต่ลำดับในประโยคจะเป็นบอกเล่าไม่ใช่คำถาม เช่น I don’t know when he will
arrive. (ไม่ใช่ when will he arrive) 2. การใช้เครื่องหมายวรรคตอนของประโยคจะเป็นไปตามลักษณะของ
main clause เช่น could you tell me where the
elevator are? (main clause เป็นคำถาม) 3.ใช้ noun clausesที่ขึ้นต้น Wh-question เพื่อให้คู่สนทนาทราบว่าเราไม่รู้หรือว่าเราไม่แน่ใจ เช่น I don’t
know how much it costs. 4. Noun clauses ที่ขึ้นต้น Wh-question เพื่อถามหาข้อมูลอย่างสุภาพ เช่น could you tell who are
injured in the accident?
การใช้ Noun
clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether มีหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if
หรือ whether คือ indirect yes/no
question นั่นเอง เช่น Direct question: Did they pass the
exam? Indirect Question: I don’t know if they passed the exam. 2.ลำดับในประโยค
และเครื่องหมายจบประโยค ใช้หลักเกณฑ์เดียวกับ Noun clauses
ที่ขึ้นต้นด้วย Wh-question 3.จะขึ้นต้นด้วย
Noun clauses คำว่า if หรือ whether
ก็ได้ มักจะใช้ whether
ในสถานการณ์ที่ค่อนข้างเป็นทางการ เช่น Sir, I would like to know whether
you prefect coffee or tea. Tell me if you want to go with us or not. 4.ใช้ Noun clauses ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether เมื่อ main clause แสดงการใช้ความคิด หรือ คิดคำนึง เช่น I can’t remember if I had
already paid him. 5.ใช้ Noun clauses
ที่ขึ้นต้นด้วย if หรือ whether
เมื่อต้องการคำถามอย่างสุภาพ เช่น Do you know if the principal is in
his office.
จากที่ได้ศึกษาเรื่อง
Noun
clauses ทำให้รู้ว่า Object noun clauses
มีทั้งหมด 3 ประเภท ประเภทที่ 1 Wh-question + s. +v. 2.Yes/no question+s. +v. 3.that ซึ่งเมื่อเรารู้หลักการใช้
Noun clauses
ทำให้เราแปลบริบทของประโยคออกและสามารถคาดเดาได้อย่างสละสลวยน่าอ่าน
ที่สำคัญคือดึงดูดความสนใจของผู้อ่าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น