บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันมีการใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาสื่อสารเพิ่มขึ้นอย่างกว้างขวางเนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ในการเดินทาง
ตลอดจนในการศึกษาจึงเห็นได้ว่า ภาษาอังกฤษจึงมีความสำคัญขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งเป็นภาษาของการปฏิวัติอุตสาหกรรม
วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี จึงมีการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารและอธิบายความหมาย
เพื่อการโต้ตอบระหว่างมนุษย์ทั่งโลก เพื่อให้ประชาชนทั้งสองประเทศที่ใช้ภาษาต่างกันสามารถทำความเข้าใจกันได้
งานแปลถ่ายทอดภาษาซึ่งกันและกัน จึงมีความสำคัญต่อการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ซึ่งเป็นงานที่ต้องคิดวิเคราะห์ งานละเอียดอ่อน
ผู้แปลจึงต้องมีการตีความถ้อยคำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมากที่สุดและเลือกใช้คำที่เหมาะสม ตลอดจนศึกษาค้นคว้าศัพท์ทางวิชาการทุกสาขา เพื่อให้งานแปลนั้นสามารถถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้องแม่นยำ
การแปลในประเทศไทย
การแปลในภาษาไทยเริ่มมีมาตั้งแต่สมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยแห่งประเทศฝรั่งเศส
จึงมีการฝึกนักแปลประจำพระราชสำนัก มีการแปลเอกสารต่างๆในการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศและมีการสอนภาษาอังกฤษในราชสำนัก
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทในสังคมไทยตั้งแต่ความก้าวหน้าของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
รวมทั้งความเจริญทางเทคโนโลยี ทำให้มีการติดต่อและเดินทางกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
การแปลเป็นเรื่องที่ลึกซึ้ง
ใช้ในการพัฒนาทั้งทางวรรณคดี วัฒนธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
โดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์ต้องแปลให้ถูกต้อง
เพราะถ้าเกิดแปลผิดจะเกิดข้อผิดพลาดในการปฎิบัติการในห้องทดลอง
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย
เพื่อป้องกันภาษาวิบัติ และอีกอย่างหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากมายเนื่องจากขาดความรู้ทางวัฒนธรรม จะเห็นได้ว่าการแปลเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากในชีวิตประจำวันจะต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องราวการพัฒนา
ธุรกิจการพานิช จึงต้องมีกลุ่มนักแปลที่มีความรู้ในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาภาษาให้เหมาะสมกับเรื่องและเข้าใจได้ทันที
ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้ให้ควบคุมกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา การใช้ภาษา
รวมทั้งการอ่านเพื่อทำความเข้าใจ
เนื่องจากนักเรียนขาดความรู้ในเรื่องเหล่านี้และผู้ที่แปลได้ควรจะเป็นผู้ที่มีความรู้ทางภาษาอย่างดี
โดยได้รับการฝึกในเรื่องไวยากรณ์แลโครงสร้างภาษาอังกฤษอย่างได้ผลจริงๆ
การแปลคืออะไร
การแปล คือ การถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง
โดยให้มีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตรงตามต้นฉบับทุกประการ
ไม่มีการตัดต่อหรือแต่งเติมที่ไม่จำเป็นใดๆทั้งสิ้น อีกทั้งยังควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับอีกด้วยถ้าหากทำได้
การแปลจึงเป็นเรื่องที่สามารถเรียนรู้หรือปฏิบัติได้
คุณสมบัติของผู้แปล
เนื่องจากจากการแปลเป็นทักษะและศิลปะที่มีกระบวนการที่กระทำต่อภาษา
ผู้แปลจึงควรมีลักษณะดังนี้
1. เป็นผู้รู้ภาษาอย่างเลิศ
2. สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นได้เข้าใจ
3. เป็นผู้ที่มีศิลปะในการภาษา
มีความเข้าใจและซาบซึ้งในความสวยงามของภาษา
4. เป็นผู้เรียนวิชาการภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5. ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รอบรู้
รักการเรียนและรักการอ่าน
6. เป็นผู้ที่มีความอดทนและเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้แปลคือสอน
ฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้แก่สังคม ผู้เปลจะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1.
รู้ลึกซึ้งในเรื่องของภาษา
มีความรู้พื้นฐานด้านภาษาอย่างดี
2.
รักการอ่าน
ค้นคว้า
3.
มีความอดทน
มีความพยายามที่จะปรับปรุงแก้ไข
4.
มีความรับผิดชอบ
รู้จักใช้ความคิดชองตนเอง
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1. ภาษาไทยที่ใช้ในงานแปลนั้นมีลักษณะเป็นธรรมชาติ
ไม่ติดสำนวนฝรั่ง ปรับให้เห็นสำนวนไทยตามที่ใช้โดยทั่วไป
2. สามารถนำต้นฉบับภาษาอังกฤษมาเทียบเคียงกับคำแปลภาษาไทยได้
เน้นความชัดเจนนของภาษาเป็นสำคัญ
3.
ใช้ในการแปลแบบตีความ
แปลแบบเก็บความความเรียบเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
ลักษณะงานแปลที่ดี
1. ความหมายถูกต้อง
ละครบถ้วนตามต้นฉบับ (equivalence in meaning)
2. รูปแบบของภาษาที่ใช้ในฉบับแปลตรงกับต้นฉบับ (equivalence
in style)
3. สำนวนภาษาที่ใช้สละสลวยตามระดับของภาษา
(register)
การให้ความหมายในการแปล
การส่งสารโดยวิธีการแปลเป็นภาษาของตนการให้ความหมายมี 2 ประการ คือ
1. การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2. การตีความหมายจากปริบทของข้อความต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ
รูปภาพ การกระทำตลอดจนสถานภาพต่างๆ
การแปลกับการตีความจากปริบท
ความใกล้เคียง (context) และความคิดรวบยอด (Concept)
ไม่ใช่การแปลแบบให้มีความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพที่เป็นอยู่ของข้อความ
ความหมายจากความรอบข้างปริบทของข้อความจะเป็นรูปนามธรรม ซึ่งนักภาษาศาสตร์ประยุกต์ยอมรับกัน
ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมนั้นออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพ
และสามารถสรุปความหมายออกมาได้
การวิเคราะห์คามหมาย
สิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการวิเคราะห์ความหมายคือ
1. องค์ประกอบของความหมาย
เนื่องจากภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารความหมาย
ภาษาแต่ละภาษาจึงต้องมีระบบที่จะแสดงความหมาย คือ
· คำศัพท์ มีคำศัพท์จำนวนมากในการสื่อความหมายความของคำจะเปลี่ยนปลงไปตามบริบทต่างๆตามที่คำนั้นปรากฏอยู่
· ไวยากรณ์ แบบแผนการจัดเรียงคำในภาษา
เพื่อให้เป็นประโยคที่มีความหมาย
· เสียง ในภาษาจะมีเสียงจำนวนมากซึ่งเป็นเสียงที่มีความหมาย
2. ความหมายและรูปแบบ
มีความสัมพันธ์กัน
ดังนี้
· ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจจะแสดงออกได้หลายรูปแบบ
· รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
ความหมายของรูปแบบแต่ละรูปแบบนั้นไม่แน่นอนตายตัวเสมอไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริบทเป็นสำคัญ
ประเภทของความหมาย
นักภาษาศาสตร์ได้กำหนดประเภทความหมาย
มี 4 ประเภท ดังนี้
1. ความหมายอ้างอิง (referential meaning) เป็นความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม หรือเป็นความคิด มโนภาพ
2. ความหมายแปล ( Connotatative
meaning ) เป็นความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน
ผู้ฟัง อาจจะเป็นความหมายในทางบวก หรือทางลบ ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษาและภูมิหลังของบุคคล
3. ความหมายตามปริบท ( Conlextual meaning ) เป็นรูปแบบหนึ่งๆของภาษาอาจะมีความหมายได้หลายแบบ
ต้องพิจารณาจากปริบทที่แวดล้อมคำนั้นทั้งหมด จึงจะรู้ความหมายที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อ
4. ความหมายเชิงอุปมา (figurative meaning) เป็นความหมายที่เกิดจากการเปรียบเทียบทั้งการเปรียบเทียบโดยเปิดเผย
และการเปรียบโดยนัย ผู้แปลต้องวิเคราะห์การเปรียบเทียบ
โดยแบ่งองค์ประกอบของการเปรียบเทียบ ออกเป็น 3ส่วน คือ
1. สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
(topic)
2. สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ (illustration)
3. ประเด็นของการเปรียบเทียบ
(point of similarity)
การเลือกแปล
เลือกบทแปลตามวัตถุประสงค์ของการสอน
โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆของตนในการแปล
และให้ผู้เรียนได้ความรู้ด้านทักษะทางภาษา และเนื้อหาไปด้วย
เรื่องที่แปล
เรื่องที่เลือกแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกมาแปลสาขาใด
จะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย จึงควรมีคณะกรรมการการแปลระดับชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิแต่ละสาขาวิชาใหญ่ๆเป็นแกน
ผู้แปลแต่ละสาขาจะต้องฝึกภาษาอังกฤษในสาขาวิชาของตนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น