วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Learning Log (นอกห้องเรียน) 29/10/2558 (ภาคบ่าย)

Learning Log
นอกห้องเรียน 29/10/2558 (ภาคบ่าย)

การศึกษานอกห้องเรียนในวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 ในภาคบ่ายดิฉันได้เข้ารับฟังการบรรยายจาก ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ในหัวข้อ แนวการสอนภาษาอังกฤษท่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษาเนื่องจากปัจจุบันจะเห็นได้ว่านักศึกษาหรือประชาชนชาวไทยจะใช้ภาษาแบบผิดๆ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้ไวยากรณ์ในการแปลและคำบางคำพูดใช้ทับศัพท์จนไม่รู้ว่าคำศัพท์หรือตัวบริบทที่แท้จริงคืออะไร เมื่อฟังเรื่องของกฎเกณฑ์ของภาษาแล้ว ท่านก็บรรยายเรื่องแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นการปฏิสัมพันธ์ โดยท่านมีเทคนิคต่างๆมากมายที่น่าสนใจ สุดท้ายท่านก็บรรยายเรื่องการสอนภาษาที่เน้นความเหมาะสมในการใช้ภาษา ดังนั้นเรามาเจาะลึกแนวการสอนต่างๆของท่าน ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร
ประเด็นแรกคือแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษา ปัจจุบันการสอนภาษาอังกฤษได้มีวิวัฒนาการและมีทฤษฎีการสอนที่หลากหลาย วิธีที่ครูจะเลือกแนวทางที่เหมาะสมเพื่อนำไปดัดแปลงใช้สอนนักเรียนแต่ละคนท่านวิทยากรได้บอกทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ 1.วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปละ (Grammar Translation) 2.วิธีการสอนแบบตรง 3. วิธีการสอนแบบฟัง-พูด (Audio-Lingual Method) ซึ่งทั้งสามรูปแบบตรงกับการสอนของครูไทยมากที่สุด ดังนั้นทั้ง 3 รูปแบบจึงเป็นส่วนสำคัญในการสอนภาษาอังกฤษ ครูจึงเป็นสื่อกลางในการนำข้อมูลต่างๆเพื่อไปป้อนให้แก่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน
วิธีการสอนแบบไวยากรณ์และการแปล เป็นการสอนที่เน้นกฎไวยากรณ์และใช้การแปลเป็นสื่อให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน ในการสอนแบบไวยากรณ์และการแปลครูจะบอกและอธิบายกฎเกณฑ์ตลอดจนข้อยกเว้นต่างๆในด้านของคำศัพท์ครูควรสอนครั้งละหลายๆคำ บอกคำแปลภาษาไทย บางครั้งเขียนคำอ่านไว้ด้วย เนื่องจากปัจจุบันภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก โดยเฉพาะเรื่องของไวยากรณ์ เด็กไทยส่วนใหญ่มีความรู้เรื่องไวยากรณ์คือ ท่องแบบนกแก้วนกขุนทองแต่เวลานำไปใช้ไม่ถูกต้องหรือใช้ไม่เป็น ดังนั้นครูเน้นทักษะทางด้านการอ่านและเขียนให้มากขึ้น ให้นักเรียนฝึกทำแบบฝึกหัดที่สอดคล้องกับไวยากรณ์ต่างๆเพื่อจะได้นำไปใช้ได้อย่างถูกต้อง
วิธีสอนแบบตรง เป็นวิธีที่เน้นทักษะการฟัง และการพูดให้เกิดความเข้าใจก่อน แล้วจึงฝึกทักษะการอ่านและการเขียนโดยมีความเชื่อว่าเมื่อนักเรียนสามารถฟังและพูดได้แล้วก็สามารถเขียนได้ อ่านได้ง่ายขึ้น วิธีสอนแบบตรงจะไม่เน้นเรื่องของไวยากรณ์กฎเกณฑ์มากนัก บทเรียนส่วนใหญ่จะเป็นกิจกรรมพัฒนาให้เด็กได้ทำกิจกรรมในห้อง เด็กจะได้ใช้ภาษาอย่างเต็มที่ ดังนั้นครูต้องคอยกระตุ้นให้เด็กพูดโต้ตอบบทสนทนา ครูควรสร้างสิ่งแวดล้อมหรือใช้สื่อที่เอื้ออำนวยต่อการเรียนการสอนเพื่อให้เด็กเกิดความกระตือรือร้นที่อยากจะเรียนมากขึ้น
ส่วนวิธีสุดท้ายขอแนวการสอนภาษาอังกฤษที่เน้นกฎเกณฑ์ของภาษาคือ การสอนแบบฟังพูด Audio-Lingual Method) เป็นวิธีการสอนตามหลักภาษาศาสตร์ และวิธีการสอนตามแนวโครงสร้าง เป็นการสอนตามหลักธรรมชาติคือ ฟัง พูด อ่าน เขียน สอนแบบครบองค์ประกอบ แต่ครูควรสอนจากสิ่งที่ง่ายๆไปหาสิ่งที่ยาก ครูควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่นักเรียน ก่อนการสอนของครูทุกครั้งถ้าคำศัพท์ไหนที่ครูไม่มั่นใจให้เปิด Dictionary ฟังก่อน เพื่อเด็กจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง ท่านวิทยากรบอกว่าครูต้องออกเสียงถูกต้องทุกคำเพราะว่าถ้าครูออกเสียงผิด เด็กก็จะเลียนแบบผิดๆทำให้ภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างเช่น H จะออกเสียงผิดกันบ่อยมาก
ปัจจุบันภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก ปัญหาที่พบบ่อยของเด็กไทยคือการออกเสียง เพราะว่าถ้าเราออกเสียงผิดความหมายก็จะเปลี่ยนทำให้เจ้าของภาษาไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด ดังนั้นครูต้องเป็นสื่อกลางที่จะเป็นแบบอย่างให้แก่นักเรียน เด็กไทยโดยส่วนใหญ่จะพูดทับศัพท์กัน เช่น ชื่อยี่ห้อ Mama คนส่วนใหญ่จะพูดทับศัพท์กันโดยที่ไม่รู้ว่าคำศัพท์ที่แปลว่าบะหมี่กึ่งสำเร็จรูปคือคำว่า instant noodles เจ้าของภาษาจะไม่เข้าใจสิ่งที่เราต้องการบอกหรือต้องการสื่อ นอกจากปัญหานี้แล้วยังมีปัญหาการสนทนาของครูกับนักเรียนในชั้นเรียนอีกด้วย
การสนทนาระหว่างครูกับนักเรียนในชั้นเรียนจะเป็นปัญหามาก เนื่องจากนักเรียนไทยมีแบบฟอร์มในการถามตอบตอนครูเข้ามาในชั้นเรียน เช่น ครู : How are you? นักเรียน : I’m fine. Thank you and you? ครู : I’m fine. Thank you. Sit down. จะเป็นแบบฟอร์มแบบนี้ ถ้าวันไหนครูเปลี่ยนคำถามนักเรียนจะยืนอึ้งๆแล้วก็งงๆพร้อมกับถามครูว่า ครูค่ะ/ครับ วันนี้ครูกินยาผิดขวดไหม ซึ่งการถามทุกข์-สุข ไม่ได้มีแต่คำว่า How are you? แต่ยังมีคำอื่นอีกเช่น How are you doing? หรือ How are you going?
ท่านวิทยากรเล่าให้ฟังว่าตอนท่านไปศึกษาต่อที่เมืองนอก ท่านไปพร้อมกับรุ่นน้องของท่านอีกคน ปัญหาที่ท่านพบคือ รุ่นน้องของท่านเดินมาด้วยสีหน้าที่ไม่สู้ดี เจ้าของหอพักเห็นพอดี เลยถามว่า How are you doing? รุ่นน้องของท่านตอบทันทีว่า I walk. เจ้าของหอพักก็งงๆแล้วจึงเรียก ผศ.ดร. ศิตา เยี่ยมขันติถาวร มาปรึกษาถามว่ารุ่นน้องของเขาเป็นอะไร จะเห็นได้ว่าไม่ใช่เฉพาะเด็กแต่บุคคลชาวไทยทุกคนก็เป็น ดังนั้นครูควรเปลี่ยนวิธีหรือเทคนิคการสอนที่แตกต่างไปจากเดิม
ในระหว่างที่ท่านวิทยากรบรรยายท่านก็มีเกมส์ให้เล่นเพื่อผู้เข้ารับฟังการบรรยายไม่เบื่อ เกิดความกระตือรือร้นอยู่ตลอดเวลา ทำให้การอบรมคึกครื้น สนุกสนาน ท่านยังบอกอีกว่าการให้เล่มเกมส์เป็นสิ่งที่ดีแต่ควรให้เวลาพอเหมาะ ไม่นานจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการเบื่อได้ นอกจากนี้แล้วในการเล่นเกมส์ท่านยังมีของรางวัลมอบให้ผู้ชนะอีกด้วย
เมื่อเล่นเกมส์เสร็จท่านก็บรรยายถึงการออกเสียง ครูควรตระหนักการสอนเรื่องการออกเสียงให้มาก ครูควรหาเสียงของเจ้าของภาษามาให้นักเรียนหรือไม่ครูก็ให้นักเรียนไปฝึกร้องเพลงเพื่อเพลงเพื่อเลียนแบบเจ้าของภาษาและที่สำคัญความรู้เรื่องสัทศาสตร์ยังเป็นส่วนที่สำคัญอยู่ เพราะส่วนนี้จะช่วยแก้ไขความผิดพลาดของเด็กได้ เพราะจุดเริ่มต้นของการเรียนรู้เริ่มมาจากการฟังและการพูด ดังนั้นการอกกเสียงเป็นส่วนที่สำคัญมาก ครูควรให้นักเรียนลองฝึกสนทนากับเจ้าของภาษาบ้าง เพื่อความคุ้นเคยของเด็ก
ท่านวิทยากรให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกอ่านประโยคดังนี้คือ 1. The Thirty-three thieves thought that they thrilled the throne throughout Thursday. 2. I saw Susie sitting in a shoe shine shop. ประโยคสุดท้ายคือ I wish to wish the witch wishes, I won’t wish the wish you wish to wish.
จะเห็นได้ว่าทั้งสามประโยคมีการออกเสียงที่คล้ายคลึงกันมาก คือ ถ้าออกเสียงผิดความหมายจะเปลี่ยนทันที ในการฝึกครั้งแรกดิฉันออกเสียงผิดมาก ไม่ตรงจังหวะ ในครั้งแรกที่ออกเสียงดิฉันรู้สึกขำตัวเองเป็นอย่างมาก แต่เมื่อพยายามฝึกไปเรื่อยๆก็เริ่มเข้าจังหวะของแต่ละคำ ซึ่งมีความยากลำบากมากในการฝึก แต่ท่านวิทยากรก็มีการโน้มน้าวในการเอาหนังสือมาล่อ ใครอ่านออกเสียงได้หมดก็รับหนังสือไปอ่านเล่นที่บ้าน

ดังนั้นการเรียนรู้นอกชั้นเรียนในวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 ในช่วงบ่าย โดยผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ทำให้ดิฉันได้รับความรู้มากมาย โดยเฉพาะเรื่องของการออกเสียง และเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษที่ท่านได้ทำให้ผู้เข้าอบรมเห็น สามารถนำเทคนิคของท่านไปใช้กับเด็กได้    ในการอบรมครั้งนี้ทำให้ดิฉันได้ฝึกทักษะทั้ง 4 ด้าน คือ ฟัง พูด อ่าน เขียนและรวมไปถึงทักษะการคิดวิเคราะห์อีกด้วย ดิฉันหวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะนำความรู้ที่ได้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น