วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Learning Log (นอกห้องเรียน) วันที่ 29/10/58 (ภาคเช้า)

Learning Log (นอกห้องเรียน)
วันที่ 29/10/58 (ภาคเช้า)

การศึกษานอกห้องเรียนในวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2558 ดิฉันได้มีโอกาสเข้าร่วมอบรมในโครงการ อบรมเชิงปฏิบัติการเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษแบบบูรณาการทักษะโดยมุ่งเน้นให้ครูผู้สอนรู้จักการใช้ทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนมาบูรณาการเข้าด้วยกัน เนื่องจากปัจจุบันภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ใช้ในการสื่อสารและปกคลุมไปเกือบครึ่งโลก ในการเรียนวิชาทางภาษาให้ได้ดีนั้น คิดอย่างเดียวจะไม่เกิดความสำเร็จ ครูต้องบอกเด็กให้รู้ตัวอย่างและฝึกให้ทำให้มากๆ วิชาทางภาษาเด็กจำเป็นต้องรู้หลักเกณฑ์ นอกจากนี้แล้วทักษะการฟัง การพูด การอ่านและการเขียนต้องแม่นยำอีกด้วย การเรียนวิชาทางภาษาจะต้องอาศัยความขยัน โดยเฉพาะวิชาภาษาอังกฤษ เมื่อเจอชาวต่างชาติพยายามชนคุยเพื่อที่เราจะได้ฝึกภาษาไปในตัว และไม่อายที่จะพูด สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราเก่งภาษามากขึ้น
ในปัจจุบันภาษาเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก เนื่องมาจากอิทธิพลหลายๆด้าน เพราะฉะนั้นครูจึงจำเป็นต้องฝึกให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ โดยต้องเริ่มจากการฟังก่อนหลังจากนั้นก็เริ่มที่จะทำให้เด็กได้ฝึกทักษะการพูด ทักษะการอ่านและทักษะการเขียนเรียงลำดับกันไป โดยครูต้องฝึกให้เด็กสามารถพูดโต้ตอบกับผู้อื่นไปเพื่อที่เด็กจะได้นำไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับกาลเทศะ ดังนั้นครูจึงต้องฝึกให้เด็กรู้จักการคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์เป็น
ในการเสวนาวิชาการงานวิจัยในหัวข้อ Beyond Language Learning โดย 1.ดร.สุจินต์ หนูแก้ว        2.อาจารย์สุนทร บุญแก้วและ 3.ผศ.ดร.ประกาศิต สิทธิติกุล ผู้ดำเนินรายการ ซึ่งทั้งสามท่านได้พูดเกริ่นนำถึงเรื่องการศึกษาในศตวรรษที่ 21ที่ได้มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยปัจจุบันเด็กต้องเป็นคนหาความรู้ด้วยตนเอง ส่วนครูจะเป็นแค่เพียงผู้ช่วยเวลาเด็กไม่เข้าใจ ทักษะการสอนของครูก็จะเปลี่ยนไปจากเดิมเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องต่างๆด้วยตนเอง ครูจะคอยชี้แนะแนวทางให้ไม่ใช่สอนทั้งหมด เพราะเด็กสมัยนี้จะขาดทักษะกรคิดวิเคราะห์ การจำแนกหรือการจัดกลุ่มเด็กก็ไม่สามารถวิเคราะห์ได้ว่าสิ่งไหนคือการจำแนกและสิ่งไหนคือการจัดกลุ่ม ดังนั้นต้องการวิเคราะห์การจำแนกหรือการจัดกลุ่ม นักเรียนต้องเกณฑ์ก่อนเพื่อที่จะได้สังเคราะห์ออกมาได้อย่างถูกต้อง
ท่าน ดร.สุจินต์ หนูแก้ว ท่านได้ว่าเด็กในยุคศตวรรษที่ 21จำเป็นต้องมี 7 c ดังนี้ 1.Critical thinking problem solving 2. Creativity innovation 3. Cross-cultural understanding 4.Collaboration, teamwork & leadership 5.Communications, information & literacy 6.Computing & ICT literacy และ7.Carer and learning skills ดังนั้นทักษะของคนต้องเตรียมคนออกไปเป็น knowledge worker โดยครูจะต้องเปลี่ยนตัวเอง เพราะว่าครูต้องผลิตบุคคลที่มีความรู้เพื่อไปประกอบอาชีพต่างๆ ดังนั้นทักษะที่สำคัญที่สุดในศตวรรษที่ 21 คือทักษะการเรียนรู้
ต่อมาก็จะพูดถึงประเด็นในการเรียนภาษาอังกฤษ โดยท่านอาจารย์สุนทร บุญแก้ว ประเด็นแรกคือ เด็กส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะเรียนภาษาอังกฤษไปเพื่ออะไร ประเด็นที่สองคือ กระบวนการในการเรียนภาษาอังกฤษและประเด็นสุดท้ายคือ สภาพแวดล้อม ซึ่งปัญหาที่พบบ่อยมากคือเด็กแปลภาษาไม่ได้ เด็กจะยึดภาษาแม่เป็นหลัก ไม่ว่าจะเขียนอะไรเด็กจะคิดเป็นภาษาและเขียนเป็นภาษาแม่ก่อนแล้วจึงนำไปแปลกับ Google ท่านอาจารย์บอกว่าทุกคนก็รู้ดีว่าการที่เรานำไปแปลกับ Google ภาษาที่ออกมาจะตลกมาก ท่านบอกว่าท่านพยายามทุกวิถีทางที่จะแก้ปัญหาเหล่านี้แต่ก็ไม่เป็นผล จึงทำให้ท่านอยากเลิกสอนภาษาอังกฤษไปเลย แต่สุดท้ายก็กลับมาสอนภาษาอังกฤษและท่านก็ประสบความสำเร็จ
ท่านอาจารย์สุนทร บุญแก้ว ท่านได้จัดทำโครงการนี้ขึ้นมาโดยการพาเด็กไปพบกับสถานการณ์จริง ท่านได้พาเด็กที่ท่านสอน เดินทางไปประเทศสิงค์โปร์ ท่านจะแบ่งเด็กออกเป็นกลุ่มละ 10 คนในการเดินทางเด็กจะต้องไปที่พักด้วยตนเอง โดยที่ครูจะคอยสังเกตการณ์อยู่ห่างๆ เด็กบางกลุ่มก็ไปถึงที่พักเร็ว เด็กบางกลุ่มก็หลงทางบ้าง แต่พวกเขาก็สามารถมาถึงที่พักได้อย่างปลอดภัย การเดินทางครั้งนี้เด็กจะต้องวางแผนในการเดินทางเองทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของสถานที่ที่จะไป การศึกษาเส้นทางต่างๆ ในโครงการนี้ท่านอาจารย์สุนทร บุญแก้วประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก เนื่องจากเด็กของท่านทำได้เกินเป้าหมายที่ตั้งไว้ ดังนั้นจะเห็นไดว่าการที่ให้เด็กศึกษาสิ่งต่างๆด้วยตนเองจะนำมาซึ่งประสบผลสำเร็จ
เวลา 10.30 หลังจากที่รับประทานอาหารว่างเป็นการบรรยายความรู้เชิงบูรณาการของครูผู้สอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21 กับการเป็นสมาชิกประชาคมอาเซียนและการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 และกลวิธีในการสอนในปัจจุบัน โดย ผศ.ดร.ศิตา เยี่ยมขันติถาวร ท่านพูดถึงครูมนศตวรรษที่ 21 ต้องตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา พยายามค้นคว้าความรู้ใหม่เพื่อเท่าทันต่อโลกทัศน์ และที่สำคัญคือการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการเรียนการสอนอย่างถูกต้องและเหมาะสม     เพื่อเตรียมความพร้อมให้แก่เด็กและยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนและการอบรมพัฒนาครูได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่ายุคศตวรรษที่ 21เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี
การอบรมในช่วงเช้าของวันพฤหัสบดีที่ 21 เป็นยุคแห่งเทคโนโลยี ทำให้ดิฉันได้รู้ถึงเทคนิคการสอนภาษาอังกฤษ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในอนาคต และที่สำคัญดิฉันสามารถนำทักษะต่างๆมาบูรณาการเข้าด้วยกันอย่างลงตัวตามที่ท่านวิทยากรได้บอก ในการอบรมครั้งนี้ดิฉันคิดว่าดิฉันได้ความรู้มากมาย โดยเฉพาะประสบการณ์ของท่านวิทยากรแต่ละคน เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการประกอบวิชาชีพในอนาคตได้


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น